Flipped classroom ห้องเรียนกลับด้าน

Flipped classroom ห้องเรียนกลับด้าน

ความหมายของFlipped classroom ห้องเรียนกลับด้าน



             "ห้องเรียนกลับด้าน" (Flipped Classroom) เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ โดยให้นักเรียน "เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน" ปัจจุบัน กระแส "ห้องเรียนกลับด้าน" เป็นที่นิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกา และในปีการศึกษา พ.ศ. 2556 นี้ ชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของไทยก็จะนำแนวคิด "ห้องเรียนกลับด้าน" มาใช้ด้วยเช่นกัน
             แนวคิดหลักของ "ห้องเรียนกลับด้าน" คือ "เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน" เป็นการนำสิ่งที่เดิมที่เคยทำในชั้นเรียนไปทำที่บ้าน และนำสิ่งที่เคยถูกมอบหมายให้ทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนแทน โดยยึดหลักที่ว่า เวลาที่นักเรียนต้องการพบครูจริงๆ คือ เวลาที่เขาต้องการความช่วยเหลือ เขาไม่ได้ต้องการให้ครูอยู่ในชั้นเรียนเพื่อสอนเนื้อหาต่างๆ เพราะเขาสามารถศึกษาเนื้อหานั้นๆ ด้วยตนเอง

ลักษณะของห้องเรียนกลับด้าน

  1. เป็นการเข้าใกล้การจัดการเรียนการสอนแบบ “เด็กเป็นศูนย์กลาง” (Child-center education) มากขึ้น ที่สำคัญช่วยแก้ปัญหาเรื่องการบ้านได้ด้วย 
  2. เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน เป็นรูปแบบการเรียนที่มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาการสอนในชั้นเรียนอย่างเต็มที่ ครูจะมีเวลาใกล้ชิดกับนักเรียนมากขึ้นแทนที่จะใช้เวลาในการสอนหนังสือเพียงอย่างเดียว โดยครูมักบันทึกวิดีโอการสอนให้เด็กไปดูนอกชั้นเรียนแทน 
  3. บทบาทครูคือการสอนนักเรียนเมื่อไม่เข้าใจ มากกว่าที่จะเป็นคนบอกเล่าเนื้อหาการเรียนเพียงอย่างเดียว การเรียนการสอนเช่นนี้ทำให้สามารถนำการจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างของผู้เรียน (Differentiate Instruction)และการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning : PBL) มาใช้ในชั้นเรียนได้ด้วย 

ข้อดีและข้อจำกัดของห้องเรียนกลับด้าน

ข้อดีของห้องเรียนกลับด้าน (The Flipped Classroom) 

  1. เพื่อเปลี่ยนวิธีการสอนของครูจากการบรรยายหน้าชั้นเรียนหรือจากครูสอนไปเป็นครูฝึกทำกิจกรรมอื่นใน ชั้นเรียนให้แก่ศิษย์เป็นรายบุคคล
  2. เพื่อใช้เทคโนโลยีการเรียนที่เด็กสมัยใหม่ชอบ โดยใช้สื่อ ICT
  3. ช่วยเหลือเด็กที่มีงานยุ่ง ดังนั ้นจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือในการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทสอนที่สอนด้วยวีดิ ทัศน์อยู่บนอินเทอร์เน็ต ( Internet )
  4. ช่วยเหลือเด็กเรียนอ่อนให้ขวนขวายหาความรู้ในชั ้นเรียนปกติเด็กเหล่านี ้จะถูกทอดทิ ้งแต่ในห้องเรียน กลับด้านเด็กจะได้รับการเอาใจใส่จากครูมากที่สุดโดยอัตโนมัติ
  5. ช่วยเหลือเด็กที่มีความสามารถแตกต่างกันให้ก้าวหน้าในการเรียนตามความสามารถของตนเอง
  6. ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับครูเพิ่มขึ้น

ข้อจำกัด 

           ข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนกลับด้านคือ ตัวครูผู้สอน ครูผู้สอนส่วนใหญ่กังวลว่าถ้าตัวเองไม่ได้พูด ไม่ได้ยืนสอนอยู่หน้าชั้นแล้ว เด็กจะไม่ได้รับความรู้ เด็กจะไม่เรียน หรือเรียนรู้ไม่ได้และที่สำคัญคือครูไม่เข้าใจหัวใจสำคัญ 2 อย่างของการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ คือ
  1. ไม่เข้าใจหัวใจของการเรียนการสอนที่ว่า เรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน
  2. ไม่เข้าใจเรื่องการ "เรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน"
แหล่งที่มา
https://www.youtube.com/watch?v=1i6eY_J9Oh4&t=3s
http://taamkru.com/th/
http://flippedlearning047.blogspot.com/2017/10/blog-post.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network)

นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ((Educational innovation Technology)

การนำ Kahoot มาใช้ในการเรีนการสอน