PLC (Professional learning Community )


PLC (Professional learning Community )

ความหมายของ PLC(Professional learning Community)




     ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC(Professional learning Community) คือ การรวมตัว ร่วมใจร่วมพลัง ร่วมทำ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานวัฒนธรรมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีม เรียนรู้ที่ครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารแบบผู้ดูแลสนับสนุน สู่การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญและความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ 

ความสำคัญของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 

   ประเด็นที่ 1 ผลดีต่อครูผู้สอน คือ เพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียน โดยเพิ่มความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจและเป้าหมาย โดยอาศัยความร่วมมือจากทีมการเรียนรู้ 


   ประเด็นที่ 2 ผลดีต่อผู้เรียน คือ เพิ่มศักยภาพจากการเรียนรู้ตามความสนใจ สามารถลดอัตราการตกซ้ำชั้นและจำนวนชั้นเรียนที่ชะลอการจัดการเรียนรู้ให้น้อยลง 

วัตถุประสงค์ PLC

  1. เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อให้เกิดการร่วมมือ รวมพลังของทุกฝ่ายในการพัฒนาการเรียนการสอนสู่คุณภาพของผู้เรียน
  3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการพัฒนาผู้เรียน

องค์ประกอบสำคัญของ PLC 

  1. ต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน หมายถึง มีเป้าหมาย ทิศทางเดียวกัน มุ่งสู่การพัฒนาการเรียนการสอนสู่คุณภาพผู้เรียน 
  2. ร่วมแรง ร่วมใจ และร่วมมือ หมายถึง ต้องเปิดใจ รับฟัง เสนอวิธีการ นำสู่การปฏิบัติและประเมินร่วมกัน Open เปิดใจรับและให้ care และ Share 
  3. ภาวะผู้นำร่วม หมายถึง การทำ PLC ต้องมีผู้นำและผู้ตามในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  4. กัลยาณมิตร หมายถึง เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพ เติมเต็มส่วนที่ขาดของแต่ละคน
  5. ต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ต้องเน้นการทำงานที่เปิดโอกาสการทำงานที่ช่วยเหลือกันมากกว่าการสั่งการ มีชั่วโมงพูดคุย
  6. การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ หมายถึง การเรียนรู้การปฏิบัติงานและตรงกับภาระงานคือการสอน สู่คุณภาพผู้เรียน 

ขั้นตอนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 

ขั้นตอนที่ 1 ระบุปัญหา
ระบุปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน/การทำงานของครู ที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา
ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น ว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุที่เกิดขึ้น โดยมีปัจจัยใดเข้ามาเกี่ยวข้อง มีแนวโน้มของปัญหาอย่างไร และมีผลกระทบใดที่จะเกิดขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 ระดมความคิด เพื่อนำเสนอวิธีแก้ปัญหา
ระดมความคิดเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาจากประสบการณ์และผลการวิจัยที่สามารถอ้างอิงได้ แล้วนำเสนอผลการระดมความคิด เมื่อนำเสนอเสร็จสิ้น ดำเนินการอภิปรายสรุปและเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้วิธีแก้ปัญหา
นำวิธีแก้ปัญหาที่ได้จากการระดมความคิด ไปทดลองใช้ในการเรียนการสอนในชั้นเรียน /ในการทำงาน โดยร่วมกันสังเกต การสอนและเก็บข้อมูล หรือเก็บข้อมูลจากการทดลองใช้ในการทำงาน
ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลวิธีการแก้ปัญหา
อภิปรายผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองใช้ นำเสนอผลการสังเกตการสอนและเสนอแนะวิธีการปรับปรุงแก้ไข แล้วจึงสรุปผลวิธี การแก้ปัญหาที่ให้ผลดีต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน /การทำงาน แล้วทำการแบ่งปันประสบการณ์กับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอื่น






แหล่งที่มา
https://www.youtube.com/watch?v=ryh_8mhzBaE
www.abs.ac.th/plc.pptx

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network)

นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ((Educational innovation Technology)

การนำ Kahoot มาใช้ในการเรีนการสอน