เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network)

เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network)

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ความหมายเครือข่ายการเรียนรู้

     เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม
แนวความคิด
    การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนต้องเป็นผู้จัดกระทำต่อสิ่งเร้าหรือสาระการเรียนรู้ มิใช่เพียงรับสิ่งเร้าหรือสาระเข้ามาเท่านั้น ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างความมายของสิ่งเร้า หรือข้อความความรู้ ที่รับเข้ามาด้วยตนเอง กระบวนการสร้างความหมายของสิ่งเร้าที่รับเข้ามาที่เป็นประสบการณ์เฉพาะตน (Personal experience) ซึ่งมีความแตกต่างกันและมีกระบวนการคิดที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเรียนรู้ของบุคคลจึงเป็นกระบวนการที่แต่ละบุคคลต้องดำเนินการเอง เพราะกระบวนการสร้างความหมายเป็นกระบวนการเฉพาะตน

หลักสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้

  การเรียนรู้ตลอดชีวิตควรเริ่มจากการมีส่วนร่วมของบุคคล องค์กรและชุมชนในการตระหนักถึงปัญหาและการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมประสบการณ์ การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน จนทำให้เกิดการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้สรุปหลักการสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้ไว้ ดังนี้
  1. การกระตุ้นความคิด ความใฝ่แสวงหาความรู้ จิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
  2. การถ่ายทอด แลกเปลี่ยน การกระจายความรู้ทั้งในส่วนของวิทยากรสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
  3. การแลกเปลี่ยนข่าวสารกับหน่วยงานต่างๆ ของทั้งในภาครัฐและเอกชน
  4. การระดมและประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อการพัฒนาและลดความซ้ำซ้อน สูญเปล่าให้มากที่สุด

ประเภทเครือข่ายการเรียนรู้

  1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะภายใต้โครงสร้างของเครือข่ายการเรียนรู้
  • เครือข่ายการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นเอกัตบุคคลเป็นหลัก มีลักษณะของการประสานสัมพันธ์การดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายการให้บริการทางการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ไปยังผู้ที่ต้องการ อย่างกว้างขวาง และสนองตอบปัญหาความต้องการของแต่ละบุคคล ตลอดจนจิตใต้สำนึกในการมีส่วนร่วมพัฒนา
  • เครือข่ายการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นชุมชนเป็นหลัก เป็นการกระตุ้นให้สมาชิกใช้ศักยภาพของตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในการพึ่งพาตนเอง บนพื้นฐานของการเข้าใจสภาพปัญหา เงื่อนไข ข้อจำกัด และความต้องการของตน
 2. แบ่งตามโครงสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ซึ่งพิจารณาถึงโครงสร้างเครือข่ายการเรียนรู้อาศัยความร่วมมือระหว่างบุคคล องค์กร และเทคโนโลยีการสื่อสารเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
  • เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างกระจายศูนย์ มีศูนย์กลางทำหน้าที่ประสานงาน แต่ภารกิจในการเรียนการสอนจะกระจายความรับผิดชอบให้สมาชิกเครือข่ายซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์เท่าเทียมกัน รูปแบบนี้อาจเรียกว่าการกระจายความรับผิดชอบ (Distributed Network) ซึ่งพบได้ในเครือข่ายการพัฒนาชนบท และการเรียนรู้จากแหล่งวิทยาการชุมชน โดยอาศัยสื่อบุคคลเป็นหลัก
  • เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างรวมศูนย์ มีองค์กรกลางเป็นทั้งศูนย์ประสานงาน และเป็นแม่ข่ายรวบรวมอำนาจการจัดการความรู้ไว้ในศูนย์กลาง การลงทุนด้านเทคโนโลยีและกำลังคนอยู่ที่แม่ข่าย ส่วนลูกข่ายหรือสมาชิกเป็นเพียงผู้ร่วมใช้บริการจากศูนย์กลาง
  • เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างลำดับขั้น (Hierarchical Network) มีลักษณะเช่นเดียวกับแผนภูมิองค์กร การติดต่อสื่อสารข้อมูลต้องผ่านตามลำดับขั้นตอนมาก นิยมใช้การบริหาร จัดการองค์กรต่างๆ ซึ่งเหมาะแก่การควบคุม ดูแลระบบงาน
  • เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างแบบผสม คือมีทั้งแบบรวมศูนย์และกระจายศูนย์ ซึ่งพบมากในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน เนื่องจากการเรียนรู้มิได้อาศัยสื่อใดสื่อหนึ่งเป็นหลัก หากแต่มีการผสมผสานสื่อบุคคล และเทคโนโลยีจึงจำเป็นต้องจัดระบบเครือข่ายแบบผสม เพื่อสนองความต้องการได้อย่างกว้างขวางและตรง
 3. แบ่งตามหน่วยสังคม ได้แบ่งการเครือข่ายการเรียนรู้ออกเป็น 4 ระดับ คือ เครือข่ายการเรียนรู้ระดับบุคคล เครือข่ายการเรียนรู้ระดับกลุ่ม เครือข่ายการเรียนรู้ระดับชุมชน และเครือข่ายการเรียนรู้ระดับสถาบัน
 4. แบ่งตามระดับการปกครองและลักษณะของงาน ซึ่ง ประเวศ วะสี (2538) ได้แบ่งประเภทของเครือข่ายการเรียนรู้ออกเป็น 13 ประเภท คือ 
  • เครือข่ายชุมชนเครือข่ายนักพัฒนา 
  • เครือข่ายระดับจังหวัด 
  • เครือข่ายภาครัฐ 
  • เครือข่ายวิชาชีพ 
  • เครือข่ายธุรกิจ 
  • เครือข่ายสื่อสารมวลชน 
  • เครือข่ายนักฝึกอบรม 
  • เครือข่ายการประมวลและสังเคราะห์องค์ความรู้ระดับชาติ 
  • เครือข่ายภาคสาธารณะ 
  • เครือข่ายวิชาการ 
  • เครือข่ายนโยบายองค์กรของรัฐ 
  • เครือข่ายผู้ทรงคุณวุฒิ

ตัวอย่างเครือข่ายการเรียนรู้

  1. เครือข่ายไทยสาร เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ระดับมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกันกว่า 50 สถาบัน เริ่มจัดสร้างในปีพ.ศ.2535
  2. เครือข่ายยูนิเน็ต (UNINET) เป็นเครือข่ายเพื่อการเรียนการสอนที่สำคัญในยุคโลกาภิวัฒน์ จัดทำโดยทบวง มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2540
  3. สคูลเน็ต (SchoolNet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ได้รับการดูแลและสนับสนุนโดยศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เครือข่ายนี้เชื่อมโยงโรงเรียนในประเทศไทยไว้กว่า 100 แห่ง และเปิดโอกาสให้โรงเรียนอื่น ๆ และบุคคลที่สนใจเรียกเข้าเครือข่ายได้
  4. เครือข่ายนนทรี เป็นเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับเป็นเครือข่ายที่สมบูรณ์แบบและใช้เทคโนโลยีชั้นสูง สามารถตอบสนองความต้องการใช้ของนิสิต อาจารย์ ข้าราชการ ตลอดจนการรองรับทางด้านทรัพยากรเซอร์เวอร์อย่างพอเพียง
  5. เครือข่ายกระจายเสียงวิทยุ อสมท. จะรวมผังรายการวิทยุในเครือข่าย อสมท. มีไฟล์เสียงรับฟังทางอินเทอร์เน็ตได้.
  6. เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง เป็นเครือข่ายที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นต่าง ๆ ทางการเมือง และบทวิเคราะห์ด้านการเมือง
  7. ThaiSafeNet.Org เป็นเครือข่ายผู้ปกครองออนไลน์ มีพันธกิจด้านการเชื่อมโยงครู ผู้ปกครอง นักการศึกษา … โครงการพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครองออนไลน์ พันธกิจ : ฝึกอบรมครู ผู้ปกครอง
  8. เครือข่ายพุทธิกา รวมตัวอย่างหนังสือเครือข่ายพุทธิกาเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม




แหล่งที่มา 

https://innoforeducation.wordpress.com/2017/10/31/1-5-https://sites.google.com/site/supoldee/kherux-khay-kar-reiyn-ruhttps://sites.google.com/site/janbodsri/khwam-hmay-laea-hlak-sakhay-khxng-kherux-khay

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ((Educational innovation Technology)

การนำ Kahoot มาใช้ในการเรีนการสอน